ประกาศศลช. เรื่อง การรับข้อเสนอโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพ (ด้านเครื่องมือแพทย์และการแพทย์ดิจิทัล) ประจำปีงบประมาณ 2567-2568

10/04/2024

ประกาศศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)

เรื่อง  การรับข้อเสนอโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพ (ด้านเครื่องมือแพทย์และการแพทย์ดิจิทัล)
ประจำปีงบประมาณ 2567 - 2568

1.หลักการและเหตุผล
          ตามแผนด้านวิทยาศาสตร์วิจัย และนวัตกรรม พ.ศ. 2566 - 2570 มีการกำหนดและกำกับทิศทางในการพัฒนาวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของการพัฒนาประเทศ โดยให้ความสำคัญกับการนำวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ในการเป็นกลไกที่ขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ให้เจริญเติบโตอย่างยั่งยืน และมีศักยภาพในการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี และให้มีความพร้อมในการรองรับความท้าทายใหม่ๆ ที่จะเกิดขึ้นในอนาคต โดยมีหนึ่งในยุทธศาสตร์ที่สำคัญคือ การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม
          ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ ศลช. ได้รับมอบหมายจาก สกสว. ให้เป็นหน่วยงานบริหารและจัดการทุนวิจัย (Program Management Unit: PMU) ในปี พ.ศ. 2565 โดยใช้กลไกบริหารงบประมาณวิจัย จากกองทุนส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้านการแพทย์และสุขภาพ ศลช. จึงได้จัดทำการประกาศรับข้อเสนอโครงการด้านการแพทย์และสุขภาพ (ด้านเครื่องมือแพทย์และการแพทย์ดิจิทัล) สำหรับปีงบประมาณ 2567 – 2568 เพื่อดำเนินการสนับสนุนทุนโครงการ โดยประกอบด้วยโครงการ 2 ประเภทคือ Research Utilization (RU) การขับเคลื่อนผลงานที่มีความพร้อมใช้งานไปสู่การใช้ประโยชน์ และโครงการ non-Research Utilization (non-RU)เพื่อขับเคลื่อนผลงานที่มีความพร้อมระดับปลายน้ำ (Technology Readiness Level: TRL 7-9) ให้มีความพร้อมเข้าสู่การใช้งานจริง

 

2. วัตถุประสงค์
         เพื่อสนับสนุนการต่อยอดและขยายผลผลงานนวัตกรรมทางการแพทย์และสุขภาพของไทยในเชิงพาณิชย์ นโยบาย และสังคม รวมถึงการผลักดันเชิงนโยบาย ตามเป้าหมายและผลลัพธ์ของแผนด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) พ.ศ. 2566-2570 ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 (S1) การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัย และนวัตกรรม และ ยุทธศาสตร์ที่ 2 (S2) การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

 

3. การเปิดรับข้อเสนอโครงการ 

  • ยุทธศาสตร์ที่ 1 (S1): การพัฒนาเศรษฐกิจไทยด้วยเศรษฐกิจสร้างคุณค่าและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ให้มีความสามารถในการแข่งขัน และพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืน พร้อมสู่อนาคต โดยใช้วิทยาศาสตร์การวิจัยและนวัตกรรม

  • แผนงาน P1 (S1): พัฒนาระบบเศรษฐกิจชีวภาพ-เศรษฐกิจหมุนเวียน-เศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy: BCG) ในด้านการแพทย์และสุขภาพ ให้เป็นระบบเศรษฐกิจมูลค่าสูง มีความยั่งยืนและเพิ่มรายได้ของประเทศ

  • เป้าหมาย O1 F2: ประเทศไทยเป็นแหล่งผลิตสำคัญของอาเซียนสำหรับผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) รวมถึงชีววัตถุ วัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูงที่เป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูง ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับสากล และจำหน่ายในต่างประเทศ หรือสามารถทดแทนการนำเข้า โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

  • แผนงานย่อย F2 (S1P1): พัฒนาและผลิตผลิตภัณฑ์การแพทย์ขั้นสูง (Advanced Therapy Medicinal Products; ATMPs) รวมถึงชีววัตถุที่เกี่ยวข้อง และวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ที่เป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูง ให้เป็นอันดับหนึ่งของอาเซียน

แผนงานย่อยรายประเด็นที่เปิดรับข้อเสนอโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results) ระดับผลลัพธ์

[non-RU] การเร่งรัดขับเคลื่อนนวัตกรรมวัสดุอุปกรณ์
เครื่องมือแพทย์ไทย ให้ได้มาตรฐานเทียบเคียงกับสากล

 
KR3 F2: จำนวนวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์และบรรจุภัณฑ์ขั้นสูง
ที่เป็นนวัตกรรมระดับสูงและมูลค่าสูง มีคุณภาพเทียบเคียง
มาตรฐานสากลและจำหน่ายในต่างประเทศเพิ่มขึ้นหรือสามารถ
ทดแทนการนำเข้า โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (25 รายการ ในช่วงปี 2566 - 2570)
[RU] การขับเคลื่อนและติดตามประเมินผลนวัตกรรม
ด้านการแพทย์และสุขภาพสู่การใช้ประโยชน์ใน
กองทุนสุขภาพภาครัฐ

 
[RU] การขับเคลื่อนนวัตกรรมวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ไทยเข้าสู่ตลาดทั้งในและต่างประเทศ
 
 
 
  • ยุทธศาสตร์ที่ 2 (S2): การยกระดับสังคมและสิ่งแวดล้อม ให้มีการพัฒนาอย่างยั่งยืน สามารถแก้ไขปัญหาท้าทายและปรับตัวได้ทันต่อพลวัตการเปลี่ยนแปลงของโลก โดยใช้วิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม

  • แผนงาน P10 (S2): ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้พร้อมรับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่

  • เป้าหมาย O1 P10: ยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพของประเทศให้สามารถลดภาระโรคที่สำคัญของประเทศ (National Burden of Disease: BOD) และรับมือกับโรคระบาดระดับชาติ/โรคอุบัติใหม่ อย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล โดยการใช้ผลงานวิจัย องค์ความรู้ เทคโนโลยีและนวัตกรรม

  • แผนงานย่อย N15 (S2P10): พัฒนาระบบบริการเพื่อยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพ

แผนงานย่อยรายประเด็นที่เปิดรับข้อเสนอโครงการ

ผลสัมฤทธิ์ที่สำคัญ (Key Results) ระดับผลลัพธ์

[non-RU] การนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์เพื่อยกระดับความมั่นคงทางสุขภาพในการรับมือกับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ KR3 P10: จำนวนเทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงระบบ และนวัตกรรมสมัยใหม่
ที่ถูกนำไปใช้และเกิดผลสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ในการรับมือกับโรคระบาดระดับชาติ/โรคอุบัติใหม่ และการลดภาระโรค
ที่สำคัญของประเทศ (National Burden of Disease: BOD) เพิ่มขึ้น 
[RU] การเร่งรัดขับเคลื่อนนวัตกรรมที่เกี่ยวข้องกับระบบสุขภาพในการเตรียมรับมือกับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่ KR1 P10: จำนวนระบบสุขภาพแบบบูรณาการระดับประเทศและ/หรือพื้นที่
(Integrated Health Services: IHS) ที่ใช้ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงระบบและนวัตกรรมสมัยใหม่ ซึ่งแสดงประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการลดภาระโรคที่สำคัญของประเทศ (National Burden of Disease: BOD) ได้แก่
     1) โรคติดเชื้อ
     2) โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
     3) การบาดเจ็บ และการรับมือกับโรคระบาดระดับชาติ/ โรคอุบัติใหม่  

KR2 P10: จำนวนกลุ่มเครือข่ายความร่วมมือ (Consortium) ที่ประกอบด้วย
เครือข่ายสถาบัน/ศูนย์วิจัยในสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน
ซึ่งกระจายในทุกภูมิภาค และมีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ด้านโรคระบาดระดับชาติ/โรคอุบัติใหม่ และภาระโรคที่สำคัญของประเทศ
(National Burden of Disease: BOD) ที่แสดงประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
ในการช่วยเหลือ/สนับสนุนประเทศและ/หรือพื้นที่ให้สามารถรับมือกับ
โรคระบาดระดับชาติ/โรคอุบัติใหม่ และลดภาระโรคที่สำคัญของประเทศ
โดยการใช้ผลงานวิจัย เทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงระบบ และนวัตกรรมสมัยใหม่
เพิ่มขึ้น
 
KR3 P10: จำนวนเทคโนโลยี นวัตกรรมเชิงระบบและนวัตกรรมสมัยใหม่
ที่ถูกนำไปใช้และเกิดผลสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพ และประสิทธิผลในการรับมือกับโรคระบาดระดับชาติ/โรคอุบัติใหม่ และการลดภาระโรคที่สำคัญของประเทศ (National Burden of Disease: BOD) เพิ่มขึ้น 

KR5 P10: จำนวนประชาชนที่ได้รับบริการจากระบบสุขภาพแบบบูรณาการระดับประเทศและพื้นที่ ซึ่งใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ในการรับมือกับโรคระบาดระดับชาติและโรคอุบัติใหม่

 
 

ผู้ประสานงาน

  1. น.ส. สุณิชา ชานวาทิก     โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 134 อีเมล: sunicha@tcels.or.th

  2. น.ส. สิริภัทร สุมนาพันธุ์     โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 128 อีเมล: siripat@tcels.or.th

  3. นายพีรภัทร พลเยี่ยม     โทรศัพท์: 0 2644 5499 ต่อ 109 อีเมล: peerapat@tcels.or.th

4. ระยะเวลาการสนับสนุนโครงการ
          ระยะเวลาการสนับสนุนโครงการไม่เกิน 1 ปี หากเป็นโครงการต่อเนื่องมากกว่า 1 ปี ต้องแสดงให้เห็นเป้าหมายสุดท้าย (End goal) และมีเส้นทางไปถึงเป้าหมายรายปี (milestone) แสดงไว้อย่างชัดเจน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของ ศลช.

5. คุณสมบัติของผู้ขอรับการสนับสนุนโครงการและเงื่อนไข 
          โปรดศึกษารายละเอียดตามข่าวประชาสัมพันธ์และคู่มือการสนับสนุนโครงการ 

6. การพิจารณาข้อเสนอโครงการ
          ศลช. จัดให้มีการประเมินและพิจารณาโครงการโดยผู้ทรงคุณวุฒิเป็นรอบๆ (rolling basis) ซึ่งจะมีการกำหนดเกณฑ์การพิจารณาให้คะแนน โดยคำนึงถึงวัตถุประสงค์หลัก และผลประโยชน์ของการพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรมด้านการแพทย์และสุขภาพเป็นสำคัญ ทั้งนี้ ผลการพิจารณาของ ศลช. ถือเป็นที่สิ้นสุด

7. การยื่นข้อเสนอโครงการ
          7.1 ผู้ขอรับการสนับสนุนโครงการจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยใช้แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการ ของ ศลช. โดยสามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์ www.tcels.or.th 
          7.2 ผู้ขอรับการสนับสนุนโครงการยื่นข้อเสนอโครงการผ่านระบบ NRIIS เว็บไซต์ www.nriis.go.th และกรอกข้อมูลในแบบข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่ ศลช. กำหนด พร้อมทั้งแนบเอกสารในรูปแบบไฟล์ word และ pdf ในระบบ NRIIS

8. กำหนดการที่สำคัญ
          8.1 เปิดรับข้อเสนอโครงการ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 30 กันยายน 2567 เวลา 17.00 น.
          8.2 ประกาศผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการ ภายในเดือนธันวาคม 2567 โดย ศลช. จะประกาศผลการคัดเลือกทางเว็บไซต์ ศลช. www.tcels.or.th เท่านั้น 

***หมายเหตุ: กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

9. สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 
ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) 
ที่อยู่: เลขที่ 252 อาคารเอสพีอี ทาวเวอร์ ชั้น 9 ถนนพหลโยธิน แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400 
โทรศัพท์: 0 2644 5499 กด 1 อีเมล: pmu@tcels.or.th, saraban@tcels.or.th  เว็บไซต์: www.tcels.or.th

 
 
Page view : 667