ประกาศ ศลช. เรื่อง การรับสมัครข้อเสนอโครงการ ภายใต้แผนงานโครงการคืนป่า-ทำยาจากพืช ประจำปีงบประมาณ 2567

02/04/2024
 

ประกาศ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน)
เรื่อง การรับสมัครข้อเสนอโครงการ ภายใต้แผนงานโครงการคืนป่า-ทำยาจากพืช
ประจำปีงบประมาณ 2567

 

วัตถุประสงค์ 

  • เพื่อพัฒนาผลงานวิจัย นวัตกรรม และนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมโดยมุ่งเน้นการยกระดับอุตสาหกรรม ผลิตภัณฑ์ยาจากพืช โดยการปลูกพืชทำยามูลค่าสูงซึ่งบูรณาการกับการปลูกป่า

  • เพื่อขับเคลื่อน และพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตผลิตภัณฑ์สารสกัดและยาจากพืชโดยชุมชนและภาคเอกชน และเป็นต้นแบบเพื่อการขยายผลต่อไป โดยการร่วมมือแบบบูรณาการทุกภาคส่วน

  • เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการผลิตสารสกัดและยาจากพืชในประเทศไทยให้มีคุณภาพสูงตามมาตรฐานและแข่งขันได้

กรอบการสนับสนุน

TRL

กรอบการสนับสนุน

ผลผลิตและผลลัพธ์ที่สำคัญ

3 ถึง RU

  1. การพัฒนาและยกระดับเทคโนโลยีการสกัดสารสำคัญจากพืชทำยา

  2. การพัฒนาและยกระดับสารสกัดจากพืชทำยาที่พร้อมต่อยอดหรือผลิตในระดับอุตสาหกรรม

  3. การพัฒนาและยกระดับสารออกฤทธิ์ทางเภสัชกรรมจากพืช                  (Natural Active Pharmaceutical Ingredients; NAPIs)

  4. การศึกษา/วิจัยข้อมูลที่จำเป็นในการตั้งตำรับยา (Pre-formulation)

  5. การพัฒนาสูตรตำรับยาจากพืชทำยาและการศึกษาความคงตัวของผลิตภัณฑ์

  6. การทดลองในเซลล์เพาะเลี้ยง และการทดลองในสัตว์ทดลอง (Pre-clinical study) ตามมาตรฐานสากล เช่น Good Laboratory Practice (GLP)  OECD-GLP หรือมาตรฐานอื่นๆ ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.) ประเทศไทยยอมรับ

  7. การทดสอบในมนุษย์ (Clinical trial) ที่ปฏิบัติตามแนวทาง Good Clinical Practice (GCP)

  8. การผลิตและขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ยาจากพืชทำยา

  1. สารสกัดจากพืชเพื่อทำยาและสามารถจำหน่ายได้

  2. ผลิตภัณฑ์ยาจากพืชที่มีศักยภาพในการขึ้นทะเบียนและจำหน่ายได้

 

หมายเหตุ:

  • RU หมายถึง Research Utilization หรือ การนำผลงานวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์

  • พืชทำยา หมายถึง พืชจากธรรมชาติที่ใช้ ผสม ปรุง หรือแปรสภาพเป็นผลิตภัณฑ์ยา (ดัดแปลงจาก พรบ ผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ.2562)

  • ผลิตภัณฑ์ยา หมายถึง ผลิตภัณฑ์ที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการวินิจฉัยบำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรค หรือความเจ็บป่วยของมนุษย์ รวมทั้งเภสัชเคมีภัณฑ์ หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูป และผลิตภัณฑ์ที่มุ่งหมายให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้าง หรือการกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายมนุษย์ (ทั้งนี้ไม่รวมสัตว์) (ดัดแปลงจากนิยาม พรบ ยา พ.ศ.2510)

  • พืชต้นแบบ 26 ชนิด ที่สอดคล้องกับการพัฒนาของประเทศไทย ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร หม่อน เพชรสังฆาต ขิง ขมิ้นชัน บัวบก พญายอ กระชาย กระชายดํา ปัญจขันธ์ พรมมิ ยี่หร่า (เทียนขาว) หมาก พลู รางจืด มะขามป้อม อัญชัน ถั่วเหลือง มะกรดู ว่านหางจระเข้ ตะไคร้ กานพลู งาขี้ม้อน บัวหลวง เชียงดา และเมี่ยง ทั้งนี้ไม่ได้จำกัดชนิดของพืช โดยอาจเป็นพืชชนิดอื่นได้

การยื่นข้อเสนอโครงการ

        1. ผู้ขอรับทุนจัดทำข้อเสนอโครงการ โดยใช้แบบฟอร์มข้อเสนอโครงการในเอกสารแนบท้ายประกาศ
        2.  ผู้ขอรับทุนส่งไฟล์ตามรายการด้านล่างนี้ ผ่านทางอีเมลล์ของผู้ประสานงานที่ให้ไว้ด้านล่าง และแนบทั้งไฟล์ word และ pdf  โดยยังไม่ต้องยื่นผ่านระบบ NRIIS เนื่องจากยังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงระบบ โดยหากระบบ NRIIS มีความพร้อมแล้ว ศลช. จะแจ้งหัวหน้าโครงการให้กรอกรายละเอียดในระบบ NRIIS ในภายหลัง
             2.1 ไฟล์ข้อเสนอโครงการ โดยกรอกข้อมูลในแบบข้อเสนอโครงการฉบับสมบูรณ์ตามรูปแบบที่ ศลช. กำหนด 
             2.2 ไฟล์หนังสือนำขอรับการสนับสนุนโครงการ ที่ลงนามด้วยผู้มีอำนาจลงนามสัญญารับทุน หรือ ผู้รับมอบอำนาจ (สามารถใช้รูปแบบของหน่วยงานต้นสังกัดได้)
             2.3  หนังสือให้ความยินยอมเก็บรวบรวมใช้เปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคล

 

ผู้ประสานงาน แผนงานโครงการคืนป่า-ทำยาจากพืช

  • คุณธัญญารัตน์  อ่อนละมูล    เจ้าหน้าที่อาวุโส งานบริหารโครงการ     E-mail: thanyarat@tcels.or.th 
    โทรศัพท์: 02-6445499 ต่อ 133 

  • คุณนิตย์สุภา  วัฒนชัย    ผู้ชำนาญการ งานบริหารโครงการ     E-mail: nitsupa@tcels.or.th      
    โทรศัพท์: 02-6445499 ต่อ 147     

กำหนดการที่สำคัญ

  • เปิดรับข้อเสนอโครงการตลอดปี หรือจนกว่าจะเต็มกรอบงบประมาณ

  • พิจารณาข้อเสนอโครงการทุก 30-45 วัน 

  • ประกาศผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการภายใน 30 วัน หลังการพิจารณา

  • ประกาศผลการคัดเลือกทางเว็บไซต์ ศลช. https://www.tcels.or.th/Home?lang=th

    
***หมายเหตุ ระยะเวลาอาจมีการปรับเปลี่ยนตามความเหมาะสม

 
Page view : 1011