ข่าวสารการลงทุน

29/08/2565
เธียร์สิทธิ์ นาสัมพันธ์ นักวิจัยหลังปริญญาเอก จากภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล หนึ่งในคณะผู้พัฒนา กล่าวว่า หลักการทำงานของเครื่องเป็นการนำเทคโนโลยีที่เรียกว่าจมูกอิเล็กทรอนิกส์ หรือก๊าซเซ็นเซอร์ มาตรวจวัดสารระเหยอินทรีย์ หรือกลิ่นที่เป็นสารไบโอมาร์กเกอร์จากลมหายใจ ซึ่งทีมวิจัยมีฐานข้อมูลที่สามารถจดจำและจำแนกกลิ่นที่แตกต่างระหว่างคนที่ติดเชื้อหรือไม่ติดเชื้อได้ ทั้งยังนำระบบแมชชีนเลิร์นนิ่ง และปัญญาประดิษฐ์หรือเอไอ เข้ามาใช้ในการประมวลผลทำให้สามารถวิเคราะห์และตรวจคัดกรองได้อย่างแม่นยำมากขึ้น ปัจจุบันมีความแม่นยำประมาณ 97% จากฐานข้อมูลที่มีอยู่ประมาณ 3 พันตัวอย่าง รู้ผลตรวจภายใน 5 นาที ค่าใช้จ่ายในการตรวจไม่เกิน 10 บาทต่อคน
29/08/2565
นางสาวราชสุดา รังสิยากูล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่ ผู้อำนวยการโครงการ ORion บริษัท ปตท. น้ำมันและการค้าปลีก จำกัด (มหาชน) (OR)  เปิดเผยว่า OR มีกลยุทธ์ในการต่อยอดธุรกิจใหม่จากธุรกิจที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันโดยมุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ที่ไร้รอยต่อให้กับผู้บริโภคด้วยการเชื่อมต่อธุรกิจจากออฟไลน์ไปสู่ออนไลน์ (Offline-to-Online: O2O) ขยายขีดความสามารถของ OR ในการตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคยุคใหม่โดยอุตสาหกรรม Wellness ถือเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่ OR ให้ความสนใจ
29/08/2565
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซาลัส ไบโอซูติคอล (ประเทศไทย) จำกัด เปิดเผยว่า ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้ผลิตและสกัดกัญชา-กัญชงรายใหญ่ในไทย การลงนามครั้งนี้ ถือเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาสารสกัด กัญชง-กัญชา ที่ผลิตด้วยเทคโนโลยีทันสมัย เพื่อให้ได้สารสกัด Cannabidiol (CBD) และ Tetrahydrocannabinol (THC) คุณภาพระดับพรีเมียม และความปลอดภัยตามมาตรฐานสากลทางการแพทย์ นำมาผสานกับความเชี่ยวชาญด้านการขายและการตลาดในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องสำอางของ ยูนิฟาย กรุ๊ป ที่มีบริษัทในเครือครอบคลุมหลายกลุ่มธุรกิจ สามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าและขยายช่องทางการจัดจำหน่ายใหม่ทั้งภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ เพื่อความสำเร็จของธุรกิจร่วมกันในระยะยาว
29/08/2565
รศ.ดร. ปัทมาวดี  โพชนุกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สกสว.) เปิดเผยเกี่ยวกับการบริหารจัดการทุนวิจัยด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) หลังปรับโครงสร้างกองทุนว่า จากเดิมการทุนสนับสนุนวิจัยมีการเปิดกว้างในการพิจารณาทำให้เกิดความทับซ้อนของงานวิจัยและไม่สามารถติดตามประเมินผลวิจัยได้ต่อเนื่องส่งผลให้การต่อยอดสู่นวัตกรรมเชิงพาณิชย์เป็นไปได้ยาก ทำให้สกสว.ปรับโครงสร้างววน.ใหม่ โดยจัดตั้งกองทุนเพื่อบริหารจัดการงบประมาณสำหรับวิจัยด้านนี้ ทั้งนี้รูปแบบการจัดการที่เปลี่ยนไปส่งผลให้การสนับสนุนทุนวิจัยสอดรับกับแผนยุทธศาสตร์พัฒนาประเทศมากยิ่งขึ้น ทุกการวิจัยที่ได้รับทุนมีเป้าหมายในทิศทางเดียวกันที่ชัดเชน การผลักดันให้เกิดนวัตกรรมเชิงพาณิชย์ทำได้เร็วขึ้น เนื่องจากสามารถติดตามประเมินผลงานวิจัยได้ตั้งแต่เริ่มจนกระทั่งผลิตออกมาเป็นชิ้นงานสู่การใช้งานจริง
29/08/2565
นายพรชัย ปัทมินทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดร.ซีบีดี จำกัด กล่าวว่า “การร่วมมือในครั้งนี้ได้สร้างแรงกระเพื่อมให้กับอุตสาหกรรมสมุนไพรไทยอย่างดี พวกเราในฐานะบริษัทที่พยายามผลักดันธุรกิจนี้ และสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ต้องคำนึงถึงมาตรฐานความปลอดภัยที่ไม่เป็นพิษต่อผู้บริโภค และมีนวัตกรรมการผลิตที่มีประสิทธิภาพและเสถียรภาพที่ชัดเจน ทุกขั้นตอนมีที่มาที่ไปโดยเฉพาะการวิจัยทางด้านวิทยาศาสตร์ การพัฒนาสารสกัดต้องได้รับการการันตีจากนักวิจัยที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ จากองค์กรที่มีคุณภาพและมีความน่าเชื่อถือ ซึ่งกรมวิทศาสตร์การแพทย์ก็มีเป้าหมายที่ตรงกันในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆเพื่อสุขภาพของคนไทยทุกคน เราจะร่วมมือกันวิจัยพัฒนา ตลอดจนการให้คำแนะนำด้านกรรมวิธีหรือเทคโนโลยีที่ถูกต้อง ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงสุด
29/08/2565
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง  ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า ปัญหาการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) เป็นหนึ่งในปัญหาที่มีความสำคัญ  และยังคงมีการแพร่ระบาดอย่างต่อเนื่องในปัจจุบัน ซึ่งหากไม่มีมาตรการหรือยุทธศาสตร์เชิงรุกในการควบคุมเชื้อโรคได้ดี อาจจะทวีความรุนแรงขึ้นได้อีกในอนาคตสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จึงให้ทุนสนับสนุน “การพัฒนาระบบต้นแบบเครื่องตรวจคัดกรองผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) แบบไม่เจ็บตัว โดยการวิเคราะห์โปรไฟล์จากลมหายใจ” ผลงานของ “นายพิศิษฐ์ มิตรเกื้อกูล และคณะ” ที่ร่วมกันพัฒนานวัตกรรมอุปกรณ์ทางการแพทย์รูปแบบใหม่ เพื่อเป็นทางเลือกในการคัดกรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ได้อย่างรวดเร็ว
29/08/2565
ดร.กิตติวุฒิ เกษมวงศ์ หัวหน้าทีมวิจัยกระบวนการระดับนาโนเพื่ออุตสาหกรรมเกษตร ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือนี้ เริ่มต้นมาจากงานวิจัยพัฒนาตำรับนาโนอิมัลชั่นของน้ำมันเมล็ดคามิเลีย โดยความร่วมมือกับ ศูนย์วิจัยและพัฒนาชาน้ำมันและพืชน้ำมัน มูลนิธิชัยพัฒนา  ซึ่งภายหลังได้รับทุนวิจัยจากสำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์การมหาชน) หรือ สวก. เทคโนโลยีดังกล่าว ก็นำมาต่อยอดประยุกต์ใช้กับน้ำมันเมล็ดงาขี้ม้อนในที่สุด
29/08/2565
ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พร้อมด้วย รศ.นพ.ฉันชาย สิทธิพันธุ์ คณบดีคณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.สุพจน์ เตชวรสินสกุล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ ศ.ดร.พลกฤษณ์ แสงวณิช คณบดี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และ อ.ดร.ศันธยา กิตติโกวิท ผู้อำนวยการศูนย์กลางนวัตกรรมแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวนวัตกรรมทางการแพทย์ “ถุงใส่ชิ้นเนื้อแบบเปิดได้เองสำหรับการผ่าตัดผ่านกล้อง (Self-opening endoscopic bag) หรือ ถุง SEB”
27/07/2565
บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการ “วัสดุสังเคราะห์เพื่อใช้งานทางการแพทย์” ได้แก่ การพัฒนาพอลิเมอร์ย่อยสลายได้เกรดการแพทย์ และการพัฒนาการขึ้นรูปและทดสอบไฮโดรเจลเป็นวัสดุปิดแผล ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และโครงการ “อุปกรณ์ทางการแพทย์”
27/07/2565
นายพรชัย ปัทมินทร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ดร.ซีบีดี จำกัด กล่าวว่า “ประเทศไทยโชคดี เพราะเรามีประวัติศาสตร์ เรื่องของยาสมุนไพร สายพันธุ์กัญชา กัญชง และกระท่อม ถ้านำมาใช้ในการแพทย์จะเกิดประโยชน์สูงสุด บริษัท ดร.ซีบีดี เริ่มต้นจากการวิจัยและพัฒนา (R&D) ผลิตภัณฑ์ระดับ Medical Grade เป็นเวลา 2-3 ปี เรามีจุดยืนและจริงจังในการพัฒนาสินค้ากับบริการออกมาให้ดีที่สุดสำหรับลูกค้าทุกคน การศึกษาวิจัยมีการรองรับ มีหลักการที่ถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ และการที่รัฐบาลไทยส่งเสริมพืชกัญชา กัญชง และกระท่อมพืชเศรษฐกิจของประเทศ และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้สั่งปลดล็อกกัญชาให้พ้นจากยาเสพติด ซึ่งการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา
|< ...11 12 13 
14
 15 16 17 18 19 20... >|
Page view : 3473