ข่าวสารการลงทุน

28/12/2564
บริษัท นิวทรา รีเจนเนอเรทีฟ โปรตีน จำกัด (Nutra Regenerative Protein Co. Ltd : NRPT) บริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท อินโนบิก (เอเซีย) จำกัด (อินโนบิก) และบริษัท โนฟ ฟู้ดส์ จำกัด ได้บรรลุข้อตกลงร่วมกับ บริษัท แพลนท์ แอนด์ บีน ประเทศอังกฤษ : Plant & Bean (UK) ในสัดส่วนการลงทุน 51% และ 49% ตามลำดับ เพื่อจัดตั้งบริษัทร่วมทุนภายใต้ชื่อบริษัท แพลนท์ แอนด์ บีน ประเทศไทย : Plant & Bean (Thailand) ผลิต ผลิตภัณฑ์โปรตีนจากพืชให้แก่ผู้บริโภคและผู้ประกอบการด้านอาหาร โดยจะนำเทคโนโลยีการผลิตโปรตีนจากพืชชั้นสูงจากประเทศอังกฤษ มาตั้งไว้ที่ประเทศไทย ตั้งเป้ากำลังการผลิต 3,000 ตันต่อปี มีแผนจะเริ่มดำเนินการ
28/12/2564
นายวันชัย พนมชัย อธิบดีกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) เปิดเผยว่า กรอ.ได้ดำเนินการร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) (สทอภ. หรือ GISTDA) โดยการสนับสนุนจากสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) พัฒนาแพลตฟอร์ม (Platform) 3 โมเดลต้นแบบ เพื่อเฝ้าระวังลดผลกระทบของการแพร่กระจายของไวรัสโควิด-19 (covid-19) และสถานการณ์ฉุกเฉินจากภัยพิบัติในโรงงานขนาดใหญ่ ด้วยระบบเฝ้าระวังจากเทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ
28/12/2564
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิดในปัจจุบัน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงจากสภาวะการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจและปอด และหากไม่สามารถตรวจคัดกรองและรักษาได้ทันท่วงที จะส่งผลต่อการรักษาที่ยุ่งยากและอาจนำมาซึ่งโอกาสเสียชีวิตของผู้ป่วยที่สูงขึ้น ดังนั้นการตรวจคัดกรองผู้ป่วยด้วยวิธีภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอก จึงนับเป็นวิธีการที่จะช่วยลดความเสี่ยงและลดการติดเชื้อที่รุนแรง อย่างไรก็ดี แม้ว่าปัจจุบันการตรวจคัดกรองด้วยวิธีภาพถ่ายเอกซเรย์ทรวงอกจะมีความสะดวก มีค่าใช้จ่ายที่ไม่สูง และมีความปลอดภัย หากแต่การวินิจฉัยภาพถ่ายเอกซเรย์ให้แม่นยำสูงนั้น จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์เฉพาะทางด้านรังสีวินิจฉัย ซึ่งประเทศไทยยังประสบปัญหาจำนวนแพทย์ผู้เชี่ยวชาญดังกล่าวที่ไม่เพียงพอในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ
 
28/12/2564
นพ. สุทธิชัย โชคกิจชัย หัวหน้าฝ่ายการแพทย์ กู๊ด ด็อกเตอร์ เทคโนโลยี ประเทศไทย เปิดเผยว่า หนึ่งในบทเรียนมากมายที่ได้เรียนรู้จากวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ โควิด-19 คือ ความสำคัญในการจัดสรรการดูแลที่เหมาะสมในเวลาที่เหมาะสมให้กับผู้ป่วย เพื่อลดปัญหาด้านความจำกัดของทรัพยากรทางการแพทย์ ในสถานการณ์ที่เตียงผู้ป่วยขาดแคลนเนื่องจากการแพร่ระบาดไวรัสที่มีความรุนแรงเช่นนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องเน้นรักษาผู้ป่วยจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบและปกป้องผู้อื่นจากการแพร่เชื้อก่อนเป็นอันดับแรก 
28/12/2564
ด้วยปณิธาน "ปัญญาของแผ่นดิน" ของมหาวิทยาลัยมหิดลที่ได้ทุ่มเทผลิตผลงานวิจัยที่ตอบโจทย์เร่งด่วนของประชาชนชาวไทย จึงได้ริเริ่มคิดค้นนวัตกรรมใหม่ "เนื้อเยื่อเทียมจากวัสดุสังเคราะห์" ที่ประชาชนคนไทยสามารถเข้าถึงได้ และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (SDGs) แห่งสหประชาชาติ ข้อที่ 9 ซึ่งว่าด้วยการพัฒนาอุตสาหกรรมนวัตกรรม และโครงสร้างพื้นฐานที่ยั่งยืน (Industry, Innovation and Infrastructure) ข้อที่ 10 เพื่อการลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมอย่างยั่งยืน (Reduced Inequalities) และข้อที่ 12 ซึ่งว่าด้วยการบริโภคด้วยความรับผิดชอบอย่างยั่งยืน (Responsible Consumption) จากการเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
28/12/2564
ศาสตราจารย์ เภสัชกร เกรียงศักดิ์ เอื้อมเก็บ อาจารย์ประจำสาขาวิชาปรีคลินิก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ได้ร่วมกับอาจารย์เบญจวรรณ ดุนขุนทด อาจารย์ประจำสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย คณะพยาบาลศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ศึกษาฤทธิ์ต้านการอักเสบของ "เพกา"
28/12/2564
วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ในฐานะหน่วยงานสนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้ก้าวไปข้างหน้า ตลอดจนสนับสนุนกลไกการพัฒนาประเทศมาอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งการแก้ไขปัญหาวิกฤติการณ์สำคัญของประเทศ ปัจจุบันและอนาคตของประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงวัย
28/12/2564
จากการที่รัฐบาลมีนโยบายในการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่ไทยแลนด์ 4.0 โดยอาศัยการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ที่พัฒนาเศรษฐกิจ 3 มิติไปพร้อมกันผ่านโมเดล BCG ได้แก่ เศรษฐกิจชีวภาพ (Bio economy) เศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) และเศรษฐกิจสีเขียว (Green Economy) ซึ่ง “เครื่องมือแพทย์” ถือเป็นหนึ่งในสาขาสำคัญของรัฐบาลที่ต้องการขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub)
28/12/2564
"มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง" ได้รับงบประมาณจาก "กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา" เพื่อดำเนิน "โครงการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์" ด้วยการสร้างผลิตภัณฑ์บริการสุขภาพที่มีอัตลักษณ์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภาณุพงษ์ ใจวุฒิ คณบดีสำนักวิชาวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ร่วมกับคณาจารย์จากสำนักวิชาการจัดการ สำนักวิชาอุตสาหกรรมเกษตร ส่วนจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและนวัตกรรม และสถาบันวิจัยและนวัตกรรม เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาเส้นทางท่องเที่ยวในชุมชนและส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์อันเกิดจากภูมิปัญญาท้องถิ่น มุ่งหวังสร้างโอกาสทางการค้าและส่งเสริมด้านการตลาดให้กับวิสาหกิจชุมชน ซึ่งได้รับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางเชื่อมโยงกับภูมิปัญญาท้องถิ่นกว่า 24 รายการ
28/12/2564
นายองอาจ กิตติคุณชัย ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทให้ความสำคัญกับการพัฒนาต่อยอดและเพิ่มมูลค่าผลิตผลทางการเกษตร ซึ่งมุ่งเน้นการพัฒนาตั้งแต่ ต้นน้ำสู่ปลายน้ำ โดยการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้
1 2 3 4 5 6 
7
 8 9 10... >|
Page view : 2788