ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน

     ฝ่ายยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมและการลงทุน ของศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (องค์การมหาชน) หรือ TCELS  ทำหน้าที่ในการส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาผู้ประกอบการด้านชีววิทยาศาสตร์ให้สามารถเข้าสู่ธุรกิจ หรือเข้าสู่ระดับอุตสาหกรรมได้อย่างเป็นรูปธรรม  นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี และการลงทุนในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ของประเทศไทย จากทั้งภาครัฐและภาคเอกชน โดยมีภารกิจดังนี้

  1. พัฒนากลไก เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาธุรกิจและการลงทุนในอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ 
  2. พัฒนาฐานข้อมูลทางธุรกิจ และแนวโน้มของอุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์
  3. สร้างยุทธศาสตร์ และแผนการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
  4. พัฒนาเทคนิคการบริหารจัดการทรัพย์สินทางปัญญา และการเพิ่มมูลค่า
โครงการหลัก ปี 2561-2564

     โครงการสร้าง และพัฒนาผู้ประกอบการ Startup เข้าสู่อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ 
     การสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อไปสู่ประเทศไทย 4.0 และเป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 การพัฒนาผู้ประกอบการให้เป็นผู้ประกอบการที่มีความสามารถ เป็นนักรบเศรษฐกิจยุคใหม่ ถือเป็นสิ่งสำคัญ รวมทั้งการปฏิรูปกลไกในการบ่มเพาะผู้ประกอบการที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล และการสร้าง Ecosystem ที่เอื้อต่อการทำธุรกิจ ซึ่ง ศลช. ได้ให้ความสำคัญและดำเนินโครงการสร้าง และพัฒนาผู้ประกอบการ Startup ด้านการแพทย์และสุขภาพมาตั้งแต่ปี 2560 
     ในช่วงปีที่ผ่านมา ศลช. ได้สร้างและพัฒนาบริษัท Startup มาแล้วกว่า 30 ราย อย่างไรก็ตามการสร้างและพัฒนา Startup กลุ่มนี้ให้เป็นนักรบทางเศรษฐกิจใหม่ ต้องใช้เวลามากกว่า 1 ปี และต้องการแหล่งเงินทุนเพื่อการพัฒนาต่อเนื่อง รวมทั้งมีความจำเป็นในการสร้างและพัฒนารายใหม่ๆให้มีจำนวนมากพอ เพื่อสร้างโอกาสที่จะได้ Startup ที่มีศักยภาพเติบโตสู่ความสำเร็จ การทำงานได้มีความร่วมมือกับทั้งหน่วยงานภาครัฐ และเอกชน เช่น สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (สนช.) อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (STeP) ศูนย์บริหารจัดการเพื่อความยั่งยืน สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บริษัทเอสซีจี เคมิคอล จำกัด และบริษัทบัวหลวงเวนเจอส์ จำกัด เพื่อสร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการเติบโตของ Startup โดยเป้าหมายรวมที่วางไว้สำหรับปี 2560-2564 คือ Startups จำนวน 100 ราย ที่ได้รับการสนับสนุน 

11961_1.jpg

     โครงการพัฒนาศูนย์อบรมหลักสูตรพัฒนานักถ่ายทอดเทคโนโลยี (APEC Bio-medical Technology Commercialization Training Center)
     APEC Bio-Medical Technology Commercialization Training Center เป็นศูนย์อบรบนักถ่ายทอดเทคโนโลยีภายใต้โครงการ APEC (Asia-Pacific Economic Cooperation) หรือเรียกทั่วไปว่า APEC TCTC โครงการนี้ Association University Technology Manager (AUTM) เป็นผู้เสนอต่อ APEC ในปี พ.ศ. 2556 จากนั้น ศลช. ร่วมกับ Korea Health Industry Development Institute (KHIDI) รับเป็นเจ้าภาพร่วมและจัดตั้งศูนย์ APEC TCTC ขึ้นเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.ศ. 2557  ต่อมาในปี พ.ศ. 2559 KHIDI ได้ถอนตัวจากการเป็นเจ้าภาพร่วม ทำให้ ศลช. เป็นหน่วยงานเดียวที่ดำเนินการอบรม  เพื่อสร้างนักถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับประเทศและภูมิภาค เพื่อผลักดันให้เกิดการนำงานวิจัยมาใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์และสร้างธุรกิจสู่อุตสาหกรรมชีววิทยาศาสตร์ 
     โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อพัฒนานักถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งที่เป็นบุคคลากรไทย และเครือข่าย ASEAN จนพร้อมขึ้นทะเบียนเป็น Registered Technology Transfer Professional (RTTP) ของ Alliance Technology Transfer Professional (ATTP) และสร้างเครือข่ายนักถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ

11961_2.jpg

11961_3.jpg

 

Page view : 5517